3 วิธีติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ เลือกแบบไหนถึงเหมาะสม?

Last updated: 1 ก.ค. 2567  |  355 จำนวนผู้เข้าชม  | 

3 วิธีติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ เลือกแบบไหนถึงเหมาะสม

การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ การติดตั้งแบบลอยตัว แบบยึดกาว และแบบ Subfloor โดยการเลือกวิธีการติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด คือ การเลือกให้เหมาะสมกับพื้นบ้านของตนเอง ซึ่งต้องเปรียบเทียบตั้งแต่ลักษณะพื้นเดิมของบ้าน ข้อดีและข้อเสีย รวมไปถึงความพอใจของเจ้าของบ้าน MAZ จึงได้รวบรวม 3 วิธีการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ มาให้ผู้ใช้งานได้พิจารณาเพื่อตัดสินใจไปพร้อมกัน


วิธีติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ มีแบบไหนบ้าง?

การติดตั้งแบบลอยตัว
1. การติดตั้งแบบลอยตัว
          เป็นการติดตั้งโดยใช้ระบบที่ออกแบบมากับพื้นไม้ มี 2 ระบบ คือ ระบบรางลิ้นและระบบคลิกล็อค ซึ่งไม่ต้องใช้กาวในการติดตั้ง แต่จะปูฟิล์มหรือโฟมรองพื้นก่อน แล้วจึงติดตั้งไม้เอ็นจิเนียร์ลงไป ทั้งนี้การติดตั้งแบบคลิกล็อคจะเหมาะกับการติดตั้งแบบลอยตัวมากกว่า เนื่องจากมีตัวลิ้นล็อคทำหน้าที่เชื่อมและยึดไม้แต่ละแผ่นเข้าด้วยกัน ทำให้พื้นติดกันแน่นและแข็งแรงกว่าแบบรางลิ้น

          ข้อดี : การติดตั้งไม้เอ็นจิเนียร์แบบลอยตัวจะติดง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน หากต้องการเปลี่ยนพื้นใหม่หรือซ่อมแซมก็ทำได้ทันที ไม่ทำให้พื้นเดิมเสียหาย
          ข้อเสีย : ติดตั้งวิธีนี้อาจทำให้รู้สึกพื้นไม่แน่นขณะเดิน เพราะไม่มีสิ่งที่ยึดระหว่างแผ่นไม้และพื้นด้านล่าง ซึ่งหากพื้นไม่เรียบเสมอกันอาจมีปัญหาพื้นยวบตามมาทีหลังได้

การติดตั้งแบบยึดกาว 
2. การติดตั้งแบบยึดกาว
          เป็นวิธีการติดตั้งไม้เอ็นจิเนียร์ที่ใช้กาวในการติดตั้ง ไม่ต้องใช้โฟมรองรับ สามารถติดตั้งลงบนพื้นได้เลย โดยเริ่มจากการทากาวลงบนพื้น บริเวณร่องลิ้นและหลังแผ่นไม้ ซึ่งกาวที่ใช้จะเป็นกาว PU หรือ กาวโพลียูริเทน (Polyurethane) มีลักษณะหยืดหยุ่นสูง ช่วยเสริมให้พื้นมีความแน่น แข็งแรง ติดแน่น ไม่หลุดออกง่ายๆ อย่างไรก็ตามพื้นที่เหมาะสำหรับการใช้วิธีการติดตั้งแบบทากาว คือ พื้นปูนขัดมัน พื้นกระเบื้อง พื้นไม้อัด หรือพื้นสมาร์ทบอร์ด และหลังจากติดตั้งเสร็จให้รอกาวแห้งประมาณ 24 ชั่วโมง

          ข้อดี : พื้นแน่นและไม่ยวบ เนื่องจากมีกาวคอยประสานระหว่างแผ่นไม้เอ็นจิเนียร์กับพื้นบ้านให้แนบสนิทกัน
          ข้อเสีย : การติดตั้งด้วยวิธีการทากาว หากต้องการซ่อมแซมพื้นหรือรื้อถอนจะใช้เวลานานกว่าวิธีปูแบบอื่นๆ เพราะกาวจะติดแน่นมาก อาจส่งผลให้แผ่นไม้ได้รับความเสียหายและไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ รวมไปถึงหากติดตั้งตรงพื้นที่เดิมต้องมีการกำจัดเศษกาวให้หมดก่อน จึงจะสามารถปูใหม่ได้อีกครั้ง

การติดตั้งแบบ Subfloor
3. การติดตั้งแบบ Subfloor
          การติดตั้งวิธีนี้จะปูกับพื้นโดยตรงไม่ได้ ต้องมีการรองพื้นด้วยฟิล์มรองพื้นเพื่อช่วยให้มีสัมผัสที่นุ่มสบายเท้าเวลาเดิน ก่อนจะตามด้วย Subfloor ที่เป็นพื้นไม้อัดหรือพื้นสมาร์ทบอร์ด ซึ่งมีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 มิล การติดตั้งจะใช้ปืนลมยิงไปยังบริเวณร่องลิ้น และอาศัยแรงยึดของแม็กซ์ยึดไม้เอ็นจิเนียร์เข้ากับตัว Subfloor

          ข้อดี : พื้นมีความแน่น ไม่มีเสียงพื้นยวบขณะเดิน เมื่อต้องการรื้อหรือปูวัสดุใหม่ก็ไม่ทำลายพื้นเดิม
          ข้อเสีย : การยิงด้วยปืนลมจะทำให้แม็กซ์ติดแน่นมาก ดังนั้นการรื้อหรือซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดจะทำได้ยาก แต่ก็ยังง่ายกว่าเมื่อเทียบกับแบบยึดกาว

ให้ MAZ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้บ้านของคุณน่าอยู่มากขึ้น เรามีพื้นไม้เอ็นจิเนียร์คุณภาพสูง หลายสี หลายลายให้เลือกในราคาที่เหมาะสมที่จะช่วยตกแต่งและยกระดับบ้านของคุณให้ดูดีมีสไตล์

    สนใจสั่งซื้อสินค้า กรุณากดลิงค์นี้ค่ะ www.mazthailand.com/engineerwood

อ้างอิง
https://shorturl.at/mx8qa

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้